Chiller ชิลเลอร์ คือ อะไร

Last updated: 9 ม.ค. 2557  |  7091 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Chiller ชิลเลอร์ คือ อะไร

Chiller ชิลเลอร์ คือ อะไร
ประเทศไทยของเราซึ่งจัดว่าเป็นเมืองที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จำเป็นจะต้องใช้ระบบปรับอากาศกันแทบทั้งสิ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ให้ความเย็นที่พอเหมาะเท่านั้น แต่เพื่อควบคุมคุณภาพของการผลิตด้วยและแน่นอนว่าจะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ เพื่อซื้อพลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้  ซึ่งสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมดจะอยู่ที่ระบบปรับอากาศนั่นเอง และนั่นหมายถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดย Chiller เป็นระบบปรับอากาศประสิทธิภาพสูงที่ช่วยประหยัดพลังงานและประหยัดงบประมาณสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
 
          Chiller คือ เครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำเย็นหรือปรับอุณหภูมิน้ำ เย็นและส่งไปยังเครื่องปรับอากาศที่มีอยู่ในห้องต่างๆ ของอาคารแต่ละอาคาร
 
          หลักการทำงานของ Chiller คือ จะนำสารทำความเย็น (ก๊าซเย็นความดันต่ำ) โดยอยู่ในสภาวะไออิ่มตัวมาอัดที่ตัวCompressor จากนั้นสารทำความเย็นจะถูกอัดโดยเครื่องอัด จนมีสภาวะเป็นไอร้อน (Superheated Vapor) มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง หลังจากนั้นสารทำความเย็นจะเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเครื่องควบแน่น (Condenser)เพื่อ ถ่ายเทความร้อนออกทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวอิ่มตัวที่มี ความดันสูง จากนั้นของเหลวอิ่มตัวความดันสูงจะเคลื่อนที่ผ่านอุปกรณ์ขยายตัว (อุปกรณ์ลดแรงดัน) สารทำความเย็นจะมี 2 สถานะ คือ ของเหลวและก๊าซที่มีอุณหภูมิต่ำและความดันต่ำ หลังจากนั้นจะผ่านเข้าไปในเครื่องระเหย (Evaporator) ทำ ให้สารทำความเย็นรับความร้อนจากการโหลดนั้นๆ และกลายสภาพเป็นไออิ่มตัว  ซึ่งวัฏจักรการทำความเย็นจะดำเนินเช่นนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ หมุนเวียนเป็นวงจรเช่นนี้ตลอดเวลา  จึงทำให้ Chiller สามารถผลิตน้ำเย็นได้อย่างต่อเนื่อง จึงสามารถส่งน้ำเย็นนี้ไปจ่ายให้เครื่องปรับอากาศที่อยู่ตามอาคารต่างๆ ที่ไกลจากเครื่อง Chiller ได้ซึ่งเครื่อง Chiller เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของระบบปรับอากาศทั้งหมดที่ใช้พลังงานสูงมากถึง 52 %
 
          ปัจจุบัน Chiller รุ่นใหม่ๆ จะถูกออกแบบและพัฒนาให้มีค่ากิโลวัตต์ต่อตันของการทำความเย็นต่ำกว่า Chiller รุ่นเก่าจึงทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่ารุ่นเก่าประมาณ 20-30 % และอีกอย่างหนึ่ง Chiller รุ่นใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้สาร ทำความเย็นจำพวกที่ไม่มีสาร CFC ที่จะทำลายชั้นบรรยากาศของโลกได้อีกด้วย

หลักการทำงานของ Chiller
1. หลักการทำงาน
โดยทั่วไปเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่จะเป็นเครื่องปรับอากาศแบบรวมศูนย์ที่เรียกว่า ชิลเลอร์ (Chiller) ซึ่งแบ่งเป็นระบบระบายความร้อนด้วยน้ำและระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ซึ่งชิลเลอร์จะอาศัยน้ำเป็นตัวนำพาความเย็นไปยังห้องหรือจุดต่างๆ โดยน้ำเย็นจะไหลไปยังเครื่องทำลมเย็น (Air Handling Unit : AHU หรือ Fan Coil Unit : FCU) ที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณที่จะปรับอากาศ จากนั้นน้ำที่ไหลออกจากเครื่องทำลมเย็นจะถูกปั๊มเข้าไปในเครื่องทำน้ำเย็นขนาดใหญ่ ที่ติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องและไหลเวียนกลับไปยังเครื่องทำลมเย็นอยู่เช่นนี้ สำหรับเครื่องทำน้ำเย็นนี้จะต้องมีการนำความร้อนจากระบบออกมาระบายทิ้งที่ภายนอกอาคารด้วย ซึ่งระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ส่วนใหญ่ที่ใช้มีขนาดประมาณ 100 ถึง 1,000 ตัน เป็นระบบที่ใช้เพื่อต้องการทำความเย็นอย่างรวดเร็ว การทำความเย็นอาศัยคุณสมบัติดูดซับความร้อนของสารทำความเย็นหรือน้ำยาทำความเย็น (Liquid Refrigerant) มีหลักการทำงาน คือ ปล่อยสารทำความเย็นที่เป็นของเหลวจากถังบรรจุไปตามท่อ เมื่อสารเหลวเหล่านี้ไหลผ่านเอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว (Expansion Valve) จะถูกทำให้มีความดันสูงขึ้น ความดันจะต่ำลงเมื่อรับความร้อนและระเหยเป็นไอ (Evaporate) ที่ทำให้เกิดความเย็นขึ้นภายในพื้นที่ปรับอากาศ
 
อุปกรณ์หลักที่สำคัญ ในชิลเลอร์ มีรายละเอียดดังนี้
1) คอยล์ร้อน หรือตัวควบแน่น (Condenser) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ระบายความร้อนให้กับสารทำความเย็นที่ระเหยกลายเป็นก๊าซ และเพื่อให้เกิดการควบแน่นของสารทำความเย็นเป็นของเหลว คอยล์ร้อนมีทั้งชนิดที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air-Cooled) และชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water-Cooled)
 
2) คอยล์เย็น (Evaporator) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความเย็น โดยดึงความร้อนที่อยู่โดยรอบคอยล์เย็น เพื่อทำให้สารทำความเย็นซึ่งเป็นของเหลวระเหยกลายเป็นก๊าซ ผลที่ได้คือความเย็นเกิดขึ้น
 
3) อุปกรณ์ลดความดัน (Expansion Valve) คือ อุปกรณ์ควบคุมปริมาณสารทำความเย็นที่ไหลเข้าไปในคอยล์เย็นและช่วยลดความดันของสารทำความเย็นลง เช่น Thermal Expansion Valve และ Capillary Tube เป็นต้น ผลที่ได้คือสารทำความเย็นที่มีสภาพเป็นก๊าซ

4) คอมเพรสเซอร์ (Compressor)คือ อุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่ดูดสารทำความเย็นในสภาพที่เป็นก๊าซเข้ามาและอัดให้เกิดความดันสูงซึ่งทำให้ก๊าซมีความร้อนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย คอมเพรสเซอร์ที่ใช้งานทั่วไปมีทั้งชนิดที่เป็นแบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor) แบบโรตารี่ (Rotary Compressor) หรืออาจเป็นแบบหอยโข่ง (Centrifugal Compressor) และแบบที่นิยมใช้ในเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ ได้แก่ แบบสกรู (Screw Compressor) 
 
ข้อดี :
1) ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์นี้สามารถทำความเร็วได้อย่างรวดเร็ว
2) สามารถทำความเย็นได้หลายๆจุดพร้อมกัน เนื่องจากใช้ท่อซึ่งเดินบนผนังหรือเพดานง่ายต่อการกระจายความเย็นไปยังจุดหรือห้องที่ต้องการ
 
ข้อจำกัด :
1) เป็นระบบที่มีขนาดใหญ่ จึงมีข้อจำกัดเรื่องของพื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้ง และเลือกสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการติดตั้งอุปกรณ์แต่ละตัว
2) มีความยุ่งยากในการติดตั้ง ซึ่งจะต้องจัดเตรียมโครงสร้างในการวางเครื่อง
3) เคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนตำแหน่งได้ลำบาก เนื่องจากเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อน ดังนั้นจึงต้องวางแผนในการติดตั้งให้ดีก่อน
4) ราคาแพง ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง


 

บจก.อมรภัทร เทรดดิ้ง  ผู้แทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศชั้นนำ(TRANE CARRIER SAMSUNG MITSUBISHI  PANASONIC, LG ฯลฯ) และ ศูนย์อะไหล่เครื่องปรับอากาศ TRANE จำหน่าย ติดตั้ง ออกแบบ ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบน้ำเย็น (Chiller) ระบบท่อส่งลมเย็น (Air Duct) สำหรับที่พักอาศัย อาคารสำนักงานและ โรงงานอุตสาหกรรม เครื่องทำน้ำเย็น อุปกรณ์ติดตั้งแอร์ ตู้น้ำเย็น ดำเนินการโดย วิศวกรผู้ชำนาญการ

#TRANE #อะไหล่แอร์เทรน #compressor #Carrier#คอมเพรสเซอร์#อะไหล่แอร์ #แอร์แคเรียร์ #แอร์เทรน #อะไหล่trane#carriercompressor #tranecompressor #อมรภัทร #ศูนย์อะไหล่แอร์ #รีโมท #เทอร์โม #รีโมทเทรน #แผงคอยล์ #รังผึ้งแอร์ #คอยล์ร้อน #คอยล์เย็น 
http://www.amornpat.com
http://www.amornpat.co.th
http://www.amornpat.biz

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้