Last updated: 9 ม.ค. 2557 | 8807 จำนวนผู้เข้าชม |
วิธีการประหยัดพลังงาน สำหรับระบบ Chiller ชิลเลอร์
1. Condenser และ Evaporator ต้องสะอาด ไม่มีตะกรันและพวก Biofilm เกาะติด เพื่อการรแลกเปลี่ยนความร้อน/เย็นได้ดีที่สุด ทั้งนี้วิธีการดูแลความสะอาดนั้นมีหลากหลายวิธีมากเช่นล้าง,ใช้เคมีปรับปรุงสภาพน้ำ,Ball Cleaning ฯลฯ
2. ลองสำรวจอุณหภูมิน้ำเย็นที่เราต้องการใช้งานจริง ๆ แล้วเผื่อเอาไว้แต่พอสมควร เพราะส่วนมากวิศวกรผู้ดูแลระบบชอบปรับไว้ให้ต่ำ ๆ เอาไว้ก่อน (กันถูกด่า) ตรงนี้ก็ช่วย save ไปได้มาก
3. ปั๊มหมุนเวียนน้ำ (circulation pump) อันนี้ต้องทราบ flow rate น้ำที่ต้องการจริง ๆ เสียก่อน หาก Over size เกินไปก็เลือกเอาว่าจะใช้วิธีการ เจียรตัดใบพัดปั๊มหรือจะใช้ Inverter ควบคุมความเร็วรอบปั๊ม (แต่ขอแนะนำให้ใช้ Inverter จะดีกว่า เพราะเจียรใบปั๊มนั้นจะใช้ได้ตามสภาพนั้น ๆ เพียงสภาพเดียว หากอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงระบบหรือเกิดสึกหรอขึ้นก็ต้องเปลี่ยนสถานเดียว แต่ Inverter มีความ Flexible ในการใช้งานมากกว่า)
4. ปั๊มสูบจ่ายน้ำ (Supply Pump) อันนี้ก็พิจารณาเช่นเดียวกับ Circulation Pump แต่ตัวนี้จะมีขนาดใหญ่กว่ามาก ถ้าคิดให้รอบคอบหน่อยจะเกิดผลประหยัดอย่างมากและคืนทุนเร็วมาก (ของผมติด Inverter กับ Pump 40 Hp 2 ตัว ลงทุนไปประมาณสี่แสนบาทใช้เวลาเกือบ 4 เดือนคืนทุนแล้ว)
5. เปลี่ยนเครื่องใหม่ (กรณีที่วัดสำรวจแล้วว่าค่า kW/Tr ที่ทำได้มากกว่า 2 kW/Tr) เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดแม้จะต้องจ่ายเยอะก็ตาม เพราะเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ทุกวันนี้ประสิทธิภาพสุดยอดมาก ถ้าใช้ Screw Compressor ก็ประมาณ 0.8-0.9 kW/Tr แต่หากเป็น Centifugal Compressor ก็ดีขึ้นอีกอาจใช้พลังงานน้อยเพียง 0.5-0.6 kW/Tr
6. หากเป็นเครื่อง Air Cooled Chiller ก็พยายามตั้งเครื่องไว้ในที่อุณหภูมิแวดล้อม (Ambient Temp.) น้อย ๆ ยิ่งน้อยยิ่งดี และติดปล่องให้อากาศถ่ายเทเอาความร้อนไปทิ้งได้สะดวก หากตั้งเครื่องในที่โล่งแจ้งก็หาหลังคามาช่วยบังแดดให้ Condenser ในเวลาที่แดดส่องถึงโดยตรง ส่วนวิธีการเอาน้ำมาสเปรย์ผ่าน Filling ก่อนเข้า Condenser นั้นไม่อยากแนะนำ เพราะอาจทำให้ Condenser ของคุณผุกร่อนอย่างสาหัสได้
27 พ.ค. 2567